ติดต่อผู้ทำเวบ
 
Update 12/04/2003
 
 
การพัฒนาของเครื่องบิน
เรียนการบินพื้นฐาน
บทนำ
พื้นฐานของการบิน
เครื่องบิน
แรงที่กระทำกับเครื่องบิน
การเคลื่อนที่ของอากาศ
เสถียนภาพ
สภาพแวดล้อมในการบิน
ระบบต่างๆของเครื่องบิน
สภาพอากาศ
กฏหมายการบินทั่วไป
เทคโนโลยีเครื่องบิน
ศัพท์สำหรับนักบิน
   
   
   
   
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
     

Ground School >> Principles of Flight >> Airplanes

เครื่องบิน (Airplanes)
เมื่อเรามองไปที่สนามบินเราจะเห็นว่า มีเครื่องบินมากมายหลายแบบ แต่ถ้าเรามองให้ดีแล้วเราจะพบว่าเครื่องบินไม่ว่าแบบใดก็ตาม จะมีส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้

ลำตัว (Fuselage)
ลำตัวเครื่องบินนั้นมีหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อของส่วนประกอบหลักต่างๆ ที่ประกอบรวมกันเป็นเครื่องบิน แต่ส่วนที่เป็นของลำตัวเครื่องบินได้แก่ ห้องนักบิน (cabin or cockpit) , ที่นั่ง, ส่วนบังคับการบินต่างๆ และที่ใส่สัมภาระในเครื่องบินบางแบบ หรือ ที่นั่งผู้โดยสาร เป็นต้น

ปีก (Wing)
เมื่อมีอากาศไหลผ่านปีกของเครื่องบิน จะทำให้เกิดแรงยกเรียกว่า ลิฟ (lift) ที่ช่วยทำให้เครื่องบินลอยได้ ปีกเครื่องบิน นั้นในบางแบบจะติดตั้งอยู่ด้านบนของตัวเครื่องบิน บางแบบก็ติดตั้งอยูกลางลำตัว หรือ บางแบบอาจติดตั้งอยู่ใต้ลำตัวเครื่อง ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบเครื่องบิน เครื่องบินที่มีปีกชั้น เดียวเรียกว่า โมโนเพลน (monoplanes) เครื่องบินที่มีปีกสองชั้นเรี่ยกว่า ไบเพลน (biplanes) ในการที่จะทำให้เครื่องบินสามารถควบคุม ได้ตามต้องการนั้นที่ปีกของเครื่องบินจะมีแผ่นบังคับอยู่สองชนิดที่ด้านหลังของปีกทั้งสองข้าง เรียกว่า แอเลอร์รอน (ailerons) และ แฟลป (flap) แอเลอร์รอน จะติดตั้งอยู่ด้านหลังของปีกทั้งสองข้างโดยมีความยาวเริ่มจากจุดกึ่งกลางของปีก ด้านในไปจนถึงปลายด้านนอกของปีก การทำงานของ แอเลอร์รอน ทั้งสองข้างจะทำงานในทิศทางตรงกันข้าม เช่นถ้า แอเลอร์รอน ที่ปีกด้านซ้ายเลื่อนไปในทิศทางยกขึ้น แอเลอร์รอน ที่ปีกด้านขวาก็จะเลื่อนไปในทิศทางยกลง แฟลป จะติดตั้งอยู่ด้านหลังของปีกทั้งสองข้าง โดยมีความยาวเริ่มจุดกึ่งกลางของปีก ไปยังด้านใน จนกระทั้งถึงลำตัวเครื่องบิน การทำงานของ แฟลปทั้งสองข้างจะทำงานในทิศทางเดียวกัน เช่นเมื่อเลื่อนขึ้นก็จะเลื่อนขึ้นพร้อมกันทั้งสองข้าง สำหรับหลักการทำงาน ของทั้งสองแผ่นพื้นบังคับนี้จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป

ชุดพวงหาง (Empennage)
ชุดพวงหางประกอบไปด้วย เวอร์ติคัล สแตบิไลเซอร์ (vertical stabilizer) หรือ หางสือ (fin) และ ฮอร์ริแซนทอล สแตบิไลเซอร์ (horizontal stabilizer) ทั้งสองชุดนี้จะช่วยให้เราสามารถบังคับ เครื่องบินให้บินในระดับ และทิศทางที่ต้องการ ไปในอากาศได้ รัดเดอร์ (rudder) คือแผ่นพื้นบังคับที่ติดตั้งอยู่ที่ส่วนท้ายของ เวอร์ติคัล สแตบิไลเซอร์ ใช้ในการบังคับให้หัวเครื่องบิน ไปในทิศทางซ้าย หรือ ขวา ในการใช้งานจริงนั้น รัดเดอร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับ แอเลอร์รอน เพื่อบังคับให้เครื่องบินเลี้ยว (turn) จะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป

อีเลเวเตอร์ (elevator) คือแผ่นพื้นบังคับที่ติดตั้งอยู่ที่ส่วนท้ายของ ฮอร์ริแซนทอล สแตบิไลเซอร์ ใช้ในการควบคุมการยกหัวขึ้น หรือลง เพื่อให้เราไปยังความสูงที่ต้องการได้ เครื่องบินส่วนใหญ่จะมี แผ่นบังคับเล็กๆติดตั้งอยู่ที่ปลายของ อีเลเวเตอร์ เรียกว่า ทริม แทป (trim tab) ทริม แทปมีหน้านี้ช่วยให้เราให้แรงน้อยลงในการควบคุม เครื่องให้อยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ สำหรับการใช้งาน ครูการบินของท่านจะเป็นผู้แนะนำการใช้งานอีกครั้งหนึ่ง

แลนดิ่ง เกียร์ (landing gear)
แลนดิ่ง เกียร์ทำหน้าที่ช่วยรับแรงกระแทกในขณะร่อนลง และช่วยรองรับเครื่องบินในขณะที่อยู่บนพื้นดิน จะประกอบไปด้วย ล้อสามล้อด้วยกัน โดยมีสองล้อหลัก (main wheels) จะติดตั้งด้านข้างของลำตัวเครื่องบินด้านละล้อ อีกล้อหนึ่งจะมีการติดตั้ง อยู่สองตำแหน่ง คือ ถ้าติดตั้งอยู่ด้านท้ายของเครื่องบินจะเรียกว่า ล้อหาง เครื่องบินที่ติดตั้งล้อตำแหน้งนี้เรียกว่า คอนเวชั่นแนล แลนดิ่ง เกียร์ (conventional landing gear) ส่วนมากแล้วเครื่องที่ติดตั้งล้อที่ตำแหน่งนี้จะเป็นเครื่องบิน รุ่นเก่า แต่ปัจจุบันนี้การติดตั้งล้อที่ตำแหน่งนี้ไม่นิยม เพราะการบังคับเครื่องบินในขณะอยู่ที่พิ้น ทำได้ยาก ดังนี้ ในปัจจุบันได้นำเอาล้อที่สามนี้มาติดตั้งที่ด้านหน้าของเครื่องบิน เรียกล้อชนิดนี้ว่า โนสวิล (nosewheel) ขณะอยู่ที่พื้น การบังคับที่ รัดเดอร์ จะมากระทำที่ล้อหัวนี้ในการเลี้ยวไปยังทิศทางที่ต้องการ เราสามารถแบ่งชนิดของ แลนดิ่ง เกียร์แบบ สามล้อนี้ได้เป็นสองประเภทคือ แบบติดตั้งตายตัว (fixed gear) กับแบบที่พับเก็บได้ (retractable gear) ชึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบินขึ้น สำหรับแบบนี้ เบรกส์ (brakes) เบรกส์ ของเครื่องบินจะมีส่วนประกอบเช่นเดียวกับ เบรกส์ของรถยนต์ แต่เมื่อใช้งานแล้วรู้สึกว่าใช้งานยากกว่า เนื่องจาก การบังคับของเบรกส์ทั้งสองข้างจะแยกออกจากัน (differential braking) โดยเบรกส์จะติดตั้งอยู่ที่ล้อหลักทั้งสองข้าง ของเครื่องบิน เมื่อเราเหยีบเบรกส์ ด้านซ้ายเบรกส์ก็จะทำงานเฉพาะด้านซ้าย เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพื่อใช้ในการช่วยเลี้ยวในพื้นที่จำกัดบนพื้น ดังนี้ถ้าเราต้องการลดความเร็วจะต้องเหยีบเบรกส์ ทั้งสองข้างในน้ำหนักที่เท่ากัน จึงจะทำให้เครื่องบินลดความเร็วลงในลักษณะที่เครื่องยังอยู่ในสภาพตรงในทิศทาง หรืออยู่บน ทางวิ่ง ไม่เลี้ยวไปในทิศทางใดทางหนึ่ง

ชุดเครื่องยนต์ (Powerplant)
ในเครื่องบินขนาดเล็ก นั้นชุดเครื่องยนต์จะประกอบไปด้วย เครื่องยนต์ (engine) และใบพัด (propeller) โดยเครื่องยนต์นั้นมีหน้าที่หลักคือ ให้พลังงานในการหมุนใบพัด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ให้กำหนดพลังงานไฟฟ้า ให้กำเนิดต้นกำลังดูด เพื่อใช้ในเครื่องมือวัด (flight instruments) ในการบินบางตัว ในเครื่องยนต์เดียว สำหรับเครื่องบิน (single-engine) จะให้แหล่งความร้อนสำหรับ นักบินและผู้โดยสารด้วย ฉนวนกันไฟ (firewall) เป็นแผ่นที่ติดตั้งอยู่ระหว่างห้องนักบินกับเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันความร้อนจากเครื่องยนต์

End Airplanes
 

 

   
 
 
ติดต่อผู้ทำเวบ