ติดต่อผู้ทำเวบ
 
Update 12/04/2003
 
 
การพัฒนาของเครื่องบิน
เรียนการบินพื้นฐาน
บทนำ
พื้นฐานของการบิน
เครื่องบิน
แรงที่กระทำกับเครื่องบิน
การเคลื่อนที่ของอากาศ
เสถียนภาพ
สภาพแวดล้อมในการบิน
ระบบต่างๆของเครื่องบิน
สภาพอากาศ
กฏหมายการบินทั่วไป
เทคโนโลยีเครื่องบิน
ศัพท์สำหรับนักบิน
   
   
   
   
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
     

Ground School >> Principles of Flight>>Aerodynamics of Flight


Aerodynamics of maneuvering flight
ในส่วนนี้จะกล่าวถึง การบินระดับ (straight-and-level flight) ที่มีผลต่อ หลักของ แอร์โรไดนามิกส์ ของ การบิน นอกจากนี้ ยังจะได้กล่าวถึงการนำเอา หลักการของ แอร์โรไดนามิกส์ นี้ไปยุกต์กับ ท่าทางในการบินเช่น การไต่ (climbs), การลดระดับ (descents), และการเลี้ยว (turning) เพื่อให้เราได้ทราบถึง ประสิทธิภาพ และ ข้อจำกัด ของเครื่องบิน และในขณะเดียวกันเราจะได้ ตะหนักถึงความปลอดภัยในการบิน (safety-of-flight) อัน เนื่องมาจากผลของ ความสามารถและข้อจำกัด ของเครื่องบินนี้

แกน สาม แกนของการบิน
ทุกๆท่าทางในการบิน จะประกอบไปด้วย การกระทำของแกนใดแกนหนึ่งหรือทั้งสามแกนนี้ ในการหนุนของแกน ทั้งสาม แกนนี้จะทำให้เกิดท่าทางในการบินขึ้น โดยแกนเหล่านี้มีชื่อว่า ลองกิทูดดินอล (longitudinal), แลเตอร์แรล (lateral), และ เวอร์ติแคล (vertical) ทั้งสามแกนนี้จะมีจุดที่ร่วมกันอยู่จุด หนึ่ง โดยทั้งสามแกนนี้จะตัดผ่าน จุดนี้ ซึ่งอยู่บนตัวเครื่องบิน เรียกจุดร่วมนี้ว่า เซนเตอร์ ออฟ แกร์วิตี่ (center of gravity หรือ CG)

Longitudinal
การเคลื่อนไหว หรือการหมุนที่จุดนี้เรียกว่า โรล (roll) หรือ แบงค์ (bank) การทำให้เกิดการ หมุนรอบแกนนี้ทำได้ โดย ailerons เป็นตัวสร้างความแตกต่างระหว่าง แรงยก (lift) ของปีกเครื่องบินทั้งสองข้าง โดยเกิด lift ที่ไม่เท่ากัน จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการหมุนของแกนนี้ และทำให้เครื่องบินเอียง ไปทางใดทาง หนึ่งตามที่เราบังคับ ailerons ให้เกิด lift ที่แตกต่าง อาการนี้เรียกว่า roll หรือ bank
เช่น เราต้องการเอียงเครื่องไปทาางซ้าย สามารถทำได้โดยการ สร้าง lift ที่ปีกด้านขวาให้มีมาก กว่าทางด้านซ้าย ก็จะเกิดการหมุนของ แกนนี้ทำให้เครื่องบินเอียงไปทางซ้าย เป็นต้น

Lateral
การเคลื่อนไหว หรือหมุนรอบแกนนี้ เรียกว่า ฟิทซ์ (pitch) เกิดจากผลของการ กระทำที่ อีเลเวเตอร์ (elevator) เมื่อ เกิดการหมุนของแกนนี้จะทำให้หัวเครื่องบิน ยกขึ้น (pitch up) หรือ กดลง (pitch down) เป็นผลให้เครื่องบินไต่ระดับ ขึ้น หรือ ลดระดับลง

Vertical

การเคลื่อนไหว หรือการหมุนรอบแกนนี้ เรียกว่า ยอว์ (yaw) เป็นผลมาจาก รัดเดอร์ (rudder) เมื่อมีการหมุนของแกน นี้จะทำให้หัวเครื่องบินหันไปทางซ้าย หรือขวา การควบคุมจะมาจาก การใช้ pedel rudder โดยใช้เท้าถีบ ซ้ายหรือขวา เพื่อบังคับ rudder ของเครื่องบิน อีกทีหนึ่ง

Adverse yaw
เป็นอาการที่หัวเครื่อง หันสวนทาง เกิดจากเมื่อเราเลี้ยวโดยไม่ใช้ rudder ช่วยในการเลี้ยว เครื่องบินจะมีอาการหันไปยังทิศทางตรงกันข้าม ของการเลี้ยว adverse yaw มาจากสาเหตุของ induced drag ของปีกด้านนอกสูงกว่า จึงทำให้เกิด lift มากกว่า

Overbanking tendency
อาการปีกจม เกิดจากเลี้ยวปีกลึก โดยมีสาเหตุมาจาก การเพิ่มของ lift ที่ปีกด้านนอก และมีการเคลื่อนที่ของปีกนี้เร็วกว่าปีกด้าน จึงทำให้เกิด lift เพิ่มและทำให้เกิด การเอียง มากขึ้นกว่าที่เราตั้งใจ

Load factor
เกิดจากการ ที่เครื่องบินเพิ่มมุม ในการเลี้ยว ทำให้เครื่องบินเกิดการรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น ตามจะนวนองค์ศาที่เลี้ยว เช่นการบินตรงบินระดับ น้ำหนักที่เครื่องบินรับภาระอยู่ 1000 lb. เรียกว่า G=1 เมื่อมีการเลี้ยว ปีก 60 องค์ศา น้ำหนักเครื่องบินจะเพิ่มเป็น 2 เท่า เรียกว่า G=2 ดังนั้น น้ำหนักที่เครื่งบินรับภาระอยู่จะเป็น 2000 lb. เมื่อเครื่องบินรับภาระมากขึ้น ดังนั้นความเร็วที่จะทำให้เกิดการ Stall ก็จะสูงขึ้นอีก 40 % ของความเร็ว Stall ปกติ
ข้อจำกัดของ Load factor ที่การเกิด ค่า G กับเครื่องบิน normal category เมื่อทำการบินปกติ และเลี้ยวปีกไม่เกิน 60 องค์ศา จะอยู่ที่ 3.8 positive G's และ 1.25 negative G's

Stalls
คืออาการร่วงหล่น ของเครื่องบิน เนื่องจาก ไม่มีแรงยก เนื่องมาจาก การเปิดมุมปะทะสูงเกิดกว่า ข้อจำกัด อาจเนื่องจาก การที่เครื่องบินมีความเร็วต่ำแต่ต้องการ รักษาการบินระดับที่ความสูง เดิม เพื่อให้เกิดการสร้างแยกยก เราสามารถทำได้ สองวิธีคือ การเพิ่มความเร็ว และการเปิดมุมปะทะ แต่เนื่องจากเราต้องการใช้ความเร็วต่ำ ดังนั้นการสร้าง แรงยก ก็จะใช้วิธีเปิดมุมปะทะ และเมื่อ เราเปิดมุมปะทะมาก เกิดกว่า ข้อจำกัดของเครื่องบิน เครื่องบินสามารถเกิดการ Stall ได้ทุกความเร็ว และทุกความสูง แต่การ Stall จะอยู่ที่มุมปะทะ มุมเดิมเสมอ

Stall Speed คือความเร็วต่ำสุดที่ทำให้เครื่องบินลอยอยู่ในอากาศได้ หากความเร็วต่ำกว่านี้จะทำให้เกิดการ Stall

Torque
คือแรงต้าน (Reaction) ในทิศทางตรงกันข้าม จะเกิดกับเครื่องบินใบพัดเครื่องยนต์เดียว เมื่อเราเร่งเครื่องยนต์ และห้ามล้อไว้ หัวเครื่องจะต่ำลง

Ground effect
คือผลกระทบต่อเครื่องบิน ในขณะที่บินใกล้พื้นดินที่ความสูง ประมาณ 1 ความยาวปีก
End Aerodynamics of Flight
 

 

   
 
 
ติดต่อผู้ทำเวบ