ติดต่อผู้ทำเวบ
 
Update 12/04/2003
 
 
การพัฒนาของเครื่องบิน
หน้า1
หน้า2
หน้า3
เรียนการบินพื้นฐาน
กฏหมายการบินทั่วไป
เทคโนโลยีเครื่องบิน
ศัพท์สำหรับนักบิน
   
   
   
   
 
 

 

 

 

 

 

 

 
     

Develoment >> Page 2 of 3


หลังจากนั้นเครื่องบินก็บินได้นานขึ้นและปลอดภัยขึ้น เมื่อความคิดที่จะบินขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นผลสำเร็จ การสร้างเครื่องบินในเวลาต่อมา ก็กลายเป็นการพัฒนาเครื่องบินเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป

ปี ค.ศ.1911 เคอร์ติส กับ โฟล์ทพลน เกลน เคอร์ติส ชาวอเมริกันมีความคิดว่า เครื่องบินต้องใช้พื้นที่ดินเปล่าเป็นจำนวนมากในการลงจอด เขาจึงประดิษฐ์เครื่องบินที่สามารถร่อนลงจอดบนผิวน้ำได้ในปี ค.ศ.1911 และเป็นเครื่องบินชนิดแรกที่สามารถบินขึ้นและร่อนลงจอดจากดาดฟ้าเรือได้

ปี ค.ศ.1913 ฟาร์แมน เอฟ 40 เฮนรี ฟาร์แมน มีผลงานสร้างชื่อเสียงอีกครั้งเมื่อเขากับน้องชาย มัวริซ ร่วมกันสร้างเครื่องบิน เอฟ 40 ให้กับกองทัพใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ.1914-1918) เพื่อลาดตระเวน แต่ต่อมาได้พัฒนามากขึ้น กลายเป็นเครื่องบินสำหรับทิ้งระเบิดเครื่องแรกของโลก

ปี ค.ศ.1912 อัฟโฟร 504 อัฟโฟร เป็นชื่อสั้นๆที่นักประดิษฐ์เครื่องบินชาวอังกฤษ เอ.วี.โร เป็นผู้ตั้งให้กับเครื่องบินในบริษัทของเขา อัฟโฟร 504 เป็นรุ่นที่ทรงประสิทธิภาพและถูกผลิตขึ้นถึง 10,000 ลำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการฝึกบิน และการจู่โจมทางอากาศ

ปี ค.ศ.1918 พ็อคเกอร์ ดี.เซเวน ฟ็อคเกอร์ ฟลุกซัวเวิร์ค ชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่สร้างเครื่องบินรบขึ้น เขาติดตั้งปืนกลที่ใบพัดเครื่อง ดังนั้นกระสุนจึงสาดกระจายไปทุกทิศทาง ดี.เซเวน เครื่องนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นเครื่องบินรบที่มีอนุภาพมากที่สุดในยุค 1918

ปี ค.ศ.1919 อัลค็อค และบราวน์ นักบินชาวอังกฤษ จอห์น วิลเลียม และ อาร์เธอร์ ไวท์เทน บราวน์ คือนักบินคู่แรกที่บินข้ามหาสมุทรแอตแลนติก ได้โดยไม่หยุดพักเลยในปี ค.ศ.1919 เขาใช้เวลาในการเดินทางครั้งนั้น 4 วัน กับอีก 16.5 ชั่วโมง นับเป็นการบินระยะไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ปี ค.ศ.1927 ล็อกฮีด เวกา ล็อกฮีด เวกา เครื่องบินโดยสารสัญชาติอเมริกันถูกสร้างขึ้นในปี 1927 มันมีความเร็ว 177 กิโลเมตร/ชั่วโมง บรรทุกผู้โดยสารได้ 6 คน และไปได้ไกลถึง 885 กิโลเมตร (550 ไมล์) ด้วยปีกที่สร้างขึ้นสูงกว่าส่วนลำตัวเครื่องบินที่เพรียวลมทำให้รูปทรงมันคล้ายเครื่องบินโดยสารยุคปัจจุบัน

ปี ค.ศ.1927 ลินด์เบิร์ก นักบินชาวอเมริกัน ชาร์ล ออกัสตุส ลินเบิร์ก วัย 25 ปี ได้รับความช่วยเหลือจากนักธุรกิจชาวเซ็นหลุยส์ ในการสร้างเครื่องบินนามว่า สปิริต อ็อฟ เซนหลุยส์ เพื่อเข้าแข่งขันการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติส ชิงเงินรางวัล 25,000 ดอลลาร์ เขาใช้เวลาในการบิน 33.5 ชั่วโมง จากลองไอส์แลนด์ถึงปารีส ทำให้เขากลายเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันครั้งนั้น

ปี ค.ศ.1930 จังเกอร์ส 52 ในช่วงระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง อากาศยานทุกประเภทถูกพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้น รวมทั้งอำนวยความสะดวกสลายในการเดินทางมากยิ่งขึ้น บริษัท จังเกอร์ แห่งประเทศเยอรมันนี ได้สร้างเครื่องบินขนาด 3 เครื่องยนต์ซึ่งเป็นเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ขึ้น ต่อมาจึงได้มีการสร้าง รุ่น 52 เอส และ เจยู 52/3 เอ็มเอสขึ้นตามลำดับ

ปี ค.ศ.1933 โบอิ้ง 247 ได้ถือกำเนิดขึ้นแทนที่จะใช้ผ้าใบหรือกรอบไม้ในการประกอบตัวถังเครื่องบินอย่างที่แล้วมา โบอิ้ง 247 คือเครื่องบินที่แข็งแกร่งเพราะสร้างขึ้นจากเหล็ก นับว่าเป็นยุดสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังและถือเป็นต้นกำเนิดเครื่องบินโดยสารในปัจจุบันด้วย

ปี ค.ศ.1931 ซูเปอร์มารีน เอส 6 บี ในการแข่งขันความเร็วของเครื่องบินสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก เดอะ ชไนเดอร์ โทรฟี คือแชมเปี้ยนในการแข่งขันดังกล่าว ต่อมาในปี ค.ศ.1931 ซูเปอร์มารีน เอส 6 บี สัญชาติอังกฤษบินได้เร็วถึง 547.3 กิโลเมตร/ชั่วโมง (340.1ไมล์/ชั่วโมง) ทำให้บริษัทสร้างเครื่องบินคู่แข่งไม่กล้าที่จะผลิตอากาศยานเข้าร่วมแข่งขันกับ เอส 6 บี

ปี ค.ศ.1936 เครื่องบินโดยสาร ดักลาส ดีซี3 ปี ค.ศ.1936 เกิดการพัฒนารูปแบบปีกของเครื่องบินให้บางขึ้นทำให้ต้นทุนในการผลิตเครื่องบินต่ำลง ผู้โดยสาร 21 คนของดักลาส ดีซี 3 คือคนกลุ่มแรกที่จ่ายค่าโดยสารเครื่องบินถูกลง

ปี ค.ศ.1939 สปิทไฟร์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1939 อังกฤษได้สร้างเครื่องบินรบขึ้นมาอีกระลอก ซูเปอร์มารีน สปิทไฟร์ คือ เครื่องบินโจมตีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เมอร์ลิน ทำให้นักบินสามารถไต่ความสูงขึ้นไปได้ถึงระดับ 12,000 เมตร (40,000 ฟุต) เลยทีเดียว

ปี ค.ศ.1947 เบล เอ็ก-1 ปี ค.ศ.1947 เบล เอ็ก-1 ถูกสร้างขึ้นด้วยสมรรถนะความเร็วสูง เป็นที่รู้กันดีว่า ความเร็วของมันเร็วเสียยิ่งกว่าความเร็วของเสียงอีก

ปี ค.ศ.1943 เมสเซอร์ชมิท เอ็มอี 262 ปลายทศวรรษ 1920 อังกฤษได้พยายามพัฒนาแหล่งพลังงานขับเคลื่อนตัวใหม่ ให้กลายเป็นเครื่องเจ็ทขึ้น แต่การค้นคว้าวิจัยกลับไปได้เชื่องช้ากว้าที่คิด เยอรมันจึงได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกที่ผลิตเครื่องยนต์เจ็ทได้สำเร็จในปี ค.ศ.1943

ปี ค.ศ.1949 โคเมท ภายหลังสงครามโลก นักออกแบบเครื่องบินต่างพยายามนำเครื่องยนต์เจ็ทมาปรับใช้กับเครื่องบินโดยสารและ เดอะ ฮาวิลแลนด์ โคเมท เป็นเครื่องบินโดยสารลำแรกที่ใช้เครื่องบินลำแรกที่ใช้เครื่องยนต์เจ็ท โดยให้บริการผู้โดยสารเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1949


ปี ค.ศ.1911 เคอร์ติส กับ โฟล์ทพลน เกลน เคอร์ติส ชา

ปี ค.ศ.1913 ฟาร์แมน เอฟ 40 เฮนรี ฟาร์แมน มี


ปี ค.ศ.1912 อัฟโฟร 504


ปี ค.ศ.1918 พ็อคเกอร์ ดี.เซเวน ฟ็อคเกอร์ ฟลุกซัวเวิร์ค


ปี ค.ศ.1919 อัลค็อค และบราวน


ปี ค.ศ.1927 ล็อกฮีด เวกา


ปี ค.ศ.1927 ลินด์เบิร์ก


ปี ค.ศ.1930 จังเกอร์ส 52


ปี ค.ศ.1933 โบอิ้ง 247


ปี ค.ศ.1936 เครื่องบินโดยสาร ดักลาส ดีซี3 ป


ปี ค.ศ.1931 ซูเปอร์มารีน เอส 6 บี ใ



ปี ค.ศ.1939 สปิทไฟร์



ปี ค.ศ.1947 เบล เอ็ก-1



ปี ค.ศ.1943 เมสเซอร์ชมิท เอ็มอี 262


ปี ค.ศ.1949 โคเมท
 
 
Page 2 of 3
 

 

   
 
 
ติดต่อผู้ทำเวบ