สภาพอากาศอันตรายนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ
ด้วยกัน ในส่วนนี้เราจะ เรียนรู้ วิธีการที่จะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศ
ที่เป็นอันตรายเหล่านี้
พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstroms)มีสาม
เงื่อนไขที่ ทำให้เกิด พายุฝนฟ้าคะนอง ได้แก่ 1.สภาพอากาศ
ที่ไม่มีสเถียรภาพ 2. มีแรงยกอากาศให้ลอยตัวสูงขึ้น
3. มีระดับความชื้นสูง
วงจรการเกิด
พายุฝนฟ้าคะนองมีสถานะการเกิด อยู่ด้วยกัน สาม สถานะ
คือ
1.
พายุฝนฟ้าคะนอง ก่อตัว (Cumulus) ในช่วงนี้
จะเริ่มเกิดมีแรงยก (updrafts) ของอากาศ เกิดขึ้นและอากาศมีความเย็นมากขึ้นจนกระทั้งถึงจุด
เยือกแข็ง หรือเกิดการอัดตัวของน้ำเป็นน้ำแข็ง หรือเป็นเก็ดน้ำแข็ง
ในช่วงนี้จะยังไม่มีน้ำฟ้าตกลง มาเนื่องจากมีแรงยกสูงมี
อัตราการโตของ ก้อนเมฆ จะอยู่ประมาณ 3,000 ฟุตต่อนาที
(f.p.m)
2.
พายุฝนฟ้าคะนอง เต็มที่ (Mature) เมื่อการเจริญเติบโตของ
เมฆเต็มที่แล้วอันเนื่องมาจาก แรงแยก ฝนจะเริ่มตก
การเคลื่อนที่ลงนี้เป็น สัญญาณให้เรารู้ว่าเขาสู่
สถานะ mature แล้วผลก็คือเกิดแรงเคลื่อนที่ลง (downdraft)
ที่ความเร็ว ประมาณ 2,500 ฟุตต่อนาที เกิดลมกรรโชกที่พื้นผิว
และลมกรรโชกที่บริเวณขอบ มีฟ้าคะนอง อากาศหมุนวน
แปรปวน เมฆมีรูปร่างเป็นทรงกลม หลายลักษณะ มีแรงยกต่อเนื่อง
มีความเร็วประมาณ 6,000 ฟุตต่อนาที
3.
พายุฝนฟ้าคะนอง สลายตัว (Dissipating)
ส่วนปลายสุดของ เมฆจะมีลักษณะเป็นรูปทั่ง โดยมีปลายชี้ไปในทิศทางเดียวกับลม
อากาศปั่นปั่วน
(Turbulence) ชนิดต่างๆเราจะมาทำความรู้จัก
อากาศปั่นปั่วนชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นอากาศที่มีความเกี่ยวข้องกับ
พายุฝนฟ้าคะนอง อากาศที่จัดว่าเป็นอันตรายนั้น มีสาเหตุมาจาก
อากาศปั่นปั่วนทั้งสิ้น โดยอากาศปั่นปั่วนนี้ประกอบไปด้วย
wind shear, convective currents, obstructions
to wind flow, clear air turbulence, และ wake turbulence
ผลจากอากาศปั่นปั่วนเหล่านี้ มีหลากหลาย ตั้งแต่
การกระแทกเบาๆ (light bumps) ไปจนกระทั้ง รุนแรงถึงขึ้น
ทำให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างของเครื่องบิน
เลยทีเดียว เราจะต้องเรียนรู้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยง
หรือทำให้เกิดผลของ อากาศปั่นปั่วนนี้น้อยที่สุด
ถ้าเราต้องเข้าไปอยู่ใน อากาศปั่นปั่วนนี้ ให้ทำการบินตามข้อกำหนดในคู่มือ
ของเครื่องบินนั้น รักษา การบินระดับ และความสูงไว้
หากเราพบลมกรรโชค ในขณะร่อนลงสนาม (approach to
landing) ให้ทำการร่อนลงแบบ มีกำลังเครื่องยนต์
โดยใช้ความเร็วสูงกว่าความเร็ว ร่อนลงปกติ
WIND
SHEAR เป็นลมที่มีการเปลี่ยนทิศทาง และความเร็วลมได้อย่างรวดเร็ว
สามารถเกิดขึ้นได้ทุกความสูง เรามักจะพบ wind shaer
ที่อยู่ใกล้กับพื้นผิวนี้ได้ในบริเวณด้านหน้า ของ
พายุฝนฟ้าคะนอง
MICROBURSTS
เป็นลมที่มีแรงในการเคลื่นที่ลง เฉพาะท้องถิ่น เกิดขึ้น
กินบริเวณเล็กๆประมาณ 2 ไมล์ ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นผิว
มีความเร็วลมสูงสุดประมาณ 150 Knots เวลาที่เกิดประมาณ
2 ถึง 5 นาทีเท่านั้นแต่ นับว่าเป็นอันตรายต่อ เครื่องบินมาก
ไม่ ว่าจะเป็นขณะวิ่งขึ้น หรือ ร่อนลงสนาม
DOWNBURSTS
มีลักษณะคล้ายกับ microbursts แต่การเกิดจะกินเวลา
และพื้นที่มากว่า คือกินพื้นมากกว่า 10 ไมล์ และมีระยะเวลาการเกิดยาวนาน
มากกว่า 30 นาที
OBSTRUCTIONS
TO WIND FLOW เมื่อสิ่งกีดขวาง เช่นตึก
หรือ พื้นผิวที่ไม่ราบเรียบ ด้วยลมที่พัดมาปกติ
เมื่อผ่าน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดกาศที่ปั่นปั่วนได้
อากาศปั่นปั่วนประเภทนี้ อาจจะเรียกว่า mechanical
turbulence
CLEAR
AIR TURBULENCE (CAT) ตามปกติเราจะ พบที่ความสูงมากๆ
แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุก ความสูงเช่นกัน และเนื่องจากเราไม่สามารถจะมองเห็นได้
จึงทำให้ไม่สามารถเตือนได้ สาเหตุที่เกิดจะมาจาก
wind shear , convective currents, หรือ obstructions
to normal wind flow ปกติแล้วเราจะพบ ใน หรือใกล้กับ
JET STREAM
WAKE
TURBULENCE เมื่อเครื่องบิน สร้างแรงยก
จะมีอากาศที่แยกออกมาบริเวณปลายปีก อันเกิดจากการที่
แรงยกจำนวนหนึ่งจากทางด้านล่าง ของปลายปีก ที่ดันขึ้นไป
โดยมีแรกยกที่น้อยกว่าซึ่งที่ด้านบนของปลายปีกมาปะทะกันจึงทำให้เกิด
เป็นอากาศ ที่หนุนวนอยู่บริเวณปลายปีกของเครื่องบิน
เราเรียกอากาศเช่นนี้ว่า wigtip vortices หรือ wake
turbulence ซึ่งขนาดที่จะเกิดขึ้นนั้นก็ ขึ้นอยู่กับ
น้ำหนัก, ความเร็ว ของเครื่องบินนั้นๆ หากเครื่องบิน
หนักมาก ก็จะจำให้เกิด อากาศหนุนวน หรือปั่นปั่วนที่มากตามไปด้วย
การหลีกเลี่ยง เมื่อต้อง ร่อนลง ข้างหลังเครื่องบินใหญ่
ให้รักษา glide path ให้อยู่เหนือ เครื่องบินใหญ่นั้น
และให้สัมผัสพื้น หลังจากจุดสัมผัสพื้นของเครื่องบินใหญ่
นั้น |