ติดต่อผู้ทำเวบ
 
Update 12/04/2003
 
 
การพัฒนาของเครื่องบิน
เรียนการบินพื้นฐาน
บทนำ
พื้นฐานของเครื่องบิน
สภาพแวดล้อมในการบิน
สนามบิน
ความปลอดภัย
การจัดแบ่งพื้นที่ในอากาศ
การสื่อสาร
อุปกรณ์บอกตำแหน่ง
ระบบต่างๆของเครื่องบิน
สภาพอากาศ
กฏหมายการบินทั่วไป
เทคโนโลยีเครื่องบิน
ศัพท์สำหรับนักบิน
   
   
   
   
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
     

Ground School >> Fight Environment >> Airport

Airport

เมื่อเราได้ ทราบถึงเรื่องของความปลอดภัย และ ในหัวข้อต่อไป ในเรื่องของ สภาพแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการบิน ก็คือ เรื่องของ สนามบิน ในส่วน นี้เราจะได้ ทราบถึง คำศัพท์ และแนวความคิด ที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติ การในสนามบิน ทราบถึง วิธีการเพื่อการตัดสินใจ ใช้ทางวิ่ง ที่ถูกต้อง การปฏิบัติในการบนทาง taxi และ บนทางวิ่ง ชนิดของไฟ ที่ใช้อยู่ในสนามบิน

CONTROLLED AND UNCONTROLLED AIRPORT ผู้ควบคุม การจราจรทางอากาศ (Air traffic controllers) จะทำการควบคุม ให้คำแนะนำ การจราจรทางอากาศ จากหอควบคุม ที่อยู่ในสนามบิน ที่สนามบินที่ไม่มีการควบคุม นักบินจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบใน การตัดสินใจ ที่จะใช้ ทางวิ่งเอง และจะต้องปฏิบัติตาม ขั้นตอนที่ สนามบินนั้นๆ กำหนดไว้

RUNWAY LAYOUT เนื่องจาก การวิ่งขึ้น หรือ การร่อนลง สนาม มีผลโดยตรงกับ ทิศทางของลม และ เนื่องจาก ทางวิ่ง นั้น ไม่สามารถ หันไปตาม ที่ทางต่างๆ ที่ลมพัด มาได้ ดังนั้น การที่เราจะใช้ ทางวิ่ง ใดในการวิ่งขึ้น หรือ ร่อนลง เราจะต้องให้ความสำคัญกับทิศทางของ ลม โดยเฉพาะสนามบิน ที่มีทางวิ่งเดียว เราจะต้องดูจากทิศทาง ที่ลม พัดมา หากเป็นสนามบิน ที่มีทางวิ่ง มากกว่า หนึ่งทางวิ่ง เราก็ยังคงต้อง อาศัยทิศทางของลม แต่เรายังสามารถเลือก ทางวิ่งที่ดีที่สุดได้ โดยเลือกใช้ทางวิ่ง ในทิศทางที่ลมพัดมา โดยการดูจาก เครื่อง แสดงทิศทางลม

หมายเลขที่อยู่บนทางวิ่ง ซึ่งใช้เป็นหมายเลขของ ทางวิ่งนั้น จะมาจากทิศของ แม่เหล็ก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ในการบินนั้นเรา บินตาม ทิศของแม่เหล็ก โดยตัวเลขนั้น จะใช้อ้างอิงกับ ทิศเหนือของแม่เหล็ก ตัวเลขของทางวิ่งนั้น จะอยู่ในช่วงประมาณ 10 องค์ศา ดังนั้นหาก ทางวิ่งอยู่ในทิศ 268 องค์ศา ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับทิศ 270 องค์ศา และในการกำหนด หมายเลขในกับทางวิ่ง เราจะตัด เลข 0 ท้ายออก ดังนั้น ทางวิ่งนี้ จะเป็น ทางวิ่ง 27 ที่ทางวิ่งเดียวกัน ในทิศตรงกันข้าม จะเป็นทิศ 088 องค์ศา ซึ่งอยู่ใกล้กับ ทิศ 090 องค์ศา (ไม่เกิน 10 องค์ศา) ดังนั้น ทางวิ่งนี้ จะกำหนดเป็น 9 โดยการตัด 0 ท้ายออก เราจะนำ เอาตัวเลขทั้งสองนี้ ไปทำเครื่องหมายบนทางวิ่ง ทั้งสองด้าน จึงทำให้ ทางวิ่งที่สนามบินนี้ มีสองด้าน คือ 27 กับ 9 ดูจากรูป ข้างล่างนี้



ในสนามบิน ที่มีทางวิ่ง มากกว่า หนึ่งทางวิ่ง ในทิศทางเดียว กัน จะมีการกำหนด ตำแหน่งของ ทางวิ่งนั้น โดยการใช้ ตัวอักษร L สำหรับ ทางวิ่งทาง ด้านซ้าย ตัวอักษร R สำหรับทางวิ่ง ด้านขวา และ ในกรณี ที่มี ทางวิ่ง สามทางวิ่ง ในทิศทางเดียวกัน ทางวิ่งที่อยู่ตรงกลาง จะใช้ต้วอักษรตัว C เช่น มีทางวิ่งในทิศ 360 อยู่ขนาน กัน 3 ทางวิ่ง ทางวิ่งด้านซ้าย จะกำหนดเป็น 36L ทางวิ่งตรงกลาง จะกำหนดเป็น 36C และ ทางวิ่งทางด้าน ขวา จะกำหนดเป็น 36R ดังรูปข้างล่าง

Runway Elevation เป็นความสูงของพื้นที่ของ ทางวิ่งเหนือระดับน้ำทะเล (MSL) โดยนักบินจะต้องปรับ Altimeter ตามที่ ได้รับจากข่าวอากาศ หรือได้จาก หอควบคุม เพื่อให้ altimeter แสดงค่าความสูงของ สนามบินนั้น อย่างถูกต้อง

Active Runway หมายถึง ทางวิ่งที่จะใช้งาน เมื่อเราต้องการ จะวิ่งขึ้น หรือ ร่อนลง ที่ ทางวิ่งใด (ตัดสินจากทิศทางลม ในกรณีที่ไม่มี หอควบคุม หรือมีหอควบคุม หอจะ เป็นผู้กำหนด)

Runway Close หมายถึง ทางวิ่งที่ ปิด หรือยกเลิกการใช้งาน อาจจะเกิด จากมีการ ซ่อมแซม ทางวิ่ง และทางวิ่งที่ ปิดนี้ จะทาเครื่องหมาย ตัว X ไว้ที่ทางวิ่งนั้น

Taxiways เป็นเส้นทางที่ เชื่อมต่อระหว่าง ทางวิ่ง กับที่จอเครื่องบิน หรือ โรงเก็บเครื่องบิน โดย taxiway นี้จะแสดง โดยการ ขีดเส้นสีเหลือง อยู่กลาง ของทาง ยาวต่อเนื่องกัน ไปจนกระทั้ง ถึงปลายทาง เช่น โรงเก็บ หลุมจอเครื่อง ส่วนด้าน ที่เชื่อมต่อกับ ทางวิ่ง จะมีเส้น สีขาว สองเส้น และ เส้นปะ สองเส้น ขวางเส้นทางของ taxiway ก่อนที่จะเข้าถึงทางวิ่ง โดยมีระยะ ห่างจาก เส้นกลาง ของทางวิ่ง ประมาณ 125-250 Feet. เส้นนี้เรียกว่า Hold line ในบางสนามบิน ที่มีการใช้ ระบบ Instrument Landing System (ILS) จะมีเส้น hold line อยู่สองเส้น โดยเส้น หลังจะมีป้าย เครื่องหมาย ILS บอกไว้เพื่อให้เครื่อง ที่จะเข้ามา ตั้งตัว (lineup) บนทางวิ่งหยุด รอที่ เส้น hold line เส้นนี้ เพื่อป้องกัน การรบกวน การทำงานของ ระบบ ILS ที่อาจจะเกิดจากเครื่องบินที่ หยุดรอ ที่เส้น hold line ที่อยู่ใกล้กับ ทางวิ่ง เพื่อความปลอดภัย เครื่องบินทุกลำ ที่จะเข้าไปตั้งตัว ในทางวิ่ง จะต้องหยุด ก่อนที่จะถึง เส้นนี้ก่อนเสมอ และทำการมอง (look out) ออกไปเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเครื่องลำ อื่นอยู่บริเวณ ที่จะทำให้เกิดอัตรายได้


....................

สำหรับการ บินแบบ ด้วยกฏของ VFR (Visual Flight Rules) สามารถใช้ทางวิ่ง แบบ basic ซึ่งทางวิ่งแบบ นี้ จะมีเพียง หมายเลข ของทางวิ่ง และ เส้นปะ อยู่ที่กลาง ทางวิ่งเท่านั้น


สำหรับ การบินกฏของ IFR (Instrument Flight Rules) ซึ่งอาจจะเกิดจากสภาพ อากาศไม่ทัศนวิสัยไม่ดีนัก เราสามารถนำเครื่อง ร่อนลง กับทางวิ่ง ที่มีเครื่องช่วย โดยสามารถวิ่งขึ้น หรือ ร่อนลง กับทางวิ่ง ชนิด Nonprecision Instrument ซึ่งมีความละเอียดน้อย โดยมีเครื่องหมาย Threshold ได้ หรือ จะนำเครื่อง วิ่งขึ้น หรือร่อนลง กับ ทางวิ่งแบบ Precision Instrument ก็ได้ ซึ่งชนิดนี้เครื่องมือ จะมีความละเอียดสูง และบนทางวิ่ง ก็จะมีการเพิ่มการแสดง เครื่องหมายต่างๆ เช่น Touchdown Zone , Fix distance



STOL หรือ short takeoff or landing runway หมายถึงทางวิ่ง ที่ถูกออกแบบมา โดยมีความยาว ของทางวิ่งที่สั้น ดังนั้น การวิ่งขึ้น หรือ การร่อนลง จะต้องใช้วิธีการ วิ่งขึ้น หรือร่อนลง ดัวย การใช้ความ สามารถของเครื่องเป็นแบบ short-field


Displaced threshold เป็น threshold ที่อยู่ลึกเข้าไป แทนที่จะอยู่ที่ปลาย ทางวิ่ง จะเรียกว่า displaced threshold มีไว้เพื่อป้องให้ไม่ให้เครื่อง ที่ทำการร่อนลง อยู่สูงกว่า สิ่งกีดขวาง ที่อยู่บริเวณ หัวทางวิ่ง และบริเวณ ที่อยู่ก่อน เส้นนี้ จะใช้สำหรับ ตั้งตัววิ่งขึ้น หรือ taxi เท่านั้น

Stopway เป็นพื้นที่ ที่ขายออกยาว ออกไปจาก ทางวิ่ง โดยมีความกว้างเท่ากับทางวิ่ง ใช้สำหรับ ในกรณี ที่เครื่องร่อนลง ด้านตรงกันข้ามแล้ว ไม่สามารถหยุด เครื่องได้ทัน ทำให้เลยมาถึงบริเวณนี้ Blast Pads เป็นพื้นที่ เดียวกับ Stopway แต่จะใช้สำหรับ วิ่งขึ้น



AIRPORT SIGNSในสนามบิน ใหญ่ หรือ ที่มีการจราจรคับคัง ,มี เส้นทาง taxi หลายเส้นทาง, มีที่จอด เครื่องบินหลายแห่ง ,มีทางวิ่ง หลายทางวิ่ง เพื่อให้สนามบิน เหล่านี้เกิด ความปลอดภัย ในการปฏิบัติงาน ที่พื้น จึงได้มีการกำหนด ป้ายเครื่องหมายเพื่อบอก ทิศทาง หรือ เส้นทาง ในการ taxi ให้ง่ายต่อ การปฏิบัติ และเพื่อความปลอดภัยขึ้น สำหรับการบิน ระหว่างประเทศนั้น จะถูกกำหนด โดย ICAO (International Civil Aviation Organization) ได้มีการจัดแบ่ง ป้ายเครื่องหมาย ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่

1. Mandatory Instruction Signs

2. Location Signs

3. Direction Signs

4. Destination Signs

5. Information Signs

6. Runway Distance Remaining Signs

WIND DIRECTION INDICATORS ในการวิ่งขึ้น หรือ ร่อนลง กับสนามบินที่มี หอควบคุม หอควบคุมจะเป็นผู้กำหนด ทางวิ่งที่จะใช้ (Active runway) หรือ ในกรณีที่ ใช้ สนามบินที่ไม่มี หอควบคุม การจะเลือก ทางวิ่งใช้งาน (runway in use) เราจะต้องดูทางเครื่อง แสดงทิศทางลม เพื่อเลือกทางวิ่ง ที่มีทิศทาง ที่ลมพัด มา สำหรับ เครื่องมือ ที่ใช้แสดง ทิศทางลม ที่ติดตั้งอยู่ใกล้ๆ กับทางวิ่ง มีอยู่สอง ชนิดคือ



Wind Sock โดยมักจะติดตั้งไว้ใกล้ กับ touchdown zone ใช้กับ สนามบิน ที่มีการควบคุม และ ไม่มีการควบคุม ลักษณะของ wind sock เป็นลักษณะเป็นถุง โดย ปลายของถุงจะ ชี้ไปในทิศทาง ที่ลมพัดไป และถ้ามีลมแรง ถุงลมนี้จะลอยตัว ขึ้นและปลายชี้ไป ยังทิศทางที่ลมพัดไป ดังนั้น นอกจากเราจะรู้ ถึงทิศทางของ ลมแล้ว เรายังทราบถึง ชนิดของลม หรือ พอ จะประมาณความเร็วลม ได้ด้วย


Wind Tee เป็นอุปกรณ์ หนึ่งที่ใช้แสดงทิศทาง ลม แต่ไม่สามารถบอก ถึงชนิดของ ลม หรือ ประมาณความเร็วของลมได้

Segmented circle ใช้ติดตั้งกับ สนามบินที่ไม่มี หอควบคุม โดยจะมี เครื่องแสดง ทิศทางลมอยู่ตรงกลาง สำหรับ segmented circle นี้จะใช้แสดง รูปแบบ การ ร่อนลง สนามบิน ของเครื่องบิน โดยจะเลือก ทางวิ่ง จาก เครื่องสแดงทิศทางลม จากนั้นให้ดูที่ segmented circle ว่าจะต้องใช้ รูปแบบ การบิน (traffic pattern) เพื่อร่อนลงจาก จากรูป ภายใน segmented circle มี wind sock อยู่ โดย wind sock แสดงให้ทราบถึง ทิศทางของลมที่พัดมา ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น ทางวิ่ง ที่เลือกใช้จะเป็น ทางวิ่ง 9 โดยใช้รูปแบบ การบิน ซ้าย (left-hand traffic) สังเกตุจาก ตัว L ที่อยู่กับ segmented circle โดยตัว L นี้จะบอกถึง รูปแบบ การบิน ว่าเป็น ด้าน ซ้าย หรือ ขวา ในที่นี้ เป็น รูปแบบ ซ้าย เพราะขา ของตัว L ที่ติดกับ segmented circle นี้จะบอกถึง ทิศทางการเข้า final approach และปลาย อีกด้านหนึ่งของ ตัว L นี้ จะบอกถึง ทิศทางการเข้า base leg

 


AIRPORT LIGHTING ในการบินนั้นใน บางครั้งเราต้องบินในเวลา กลางคืน ดังนั้น เราจึงต้องมีความรู้เกี่ยว ไฟที่ใช้ ในสนามบิน

Airport beacon ในเวลากลางคืน นั้น เราจะมีไฟที่เรียกว่า airport beacon เพื่อช่วยให้นักบิน ได้ทราบว่า สนามบิน นั้นเป็น สนามบินชนิด ใด คือ เป็นของ พลเรือน หรือ ของ ทหาร โดยไฟนี้ ในยุคแรกๆ นั้นจะเป็น หลอดไฟหมุน แสดงสี ขาว และ เขียว สลับกัน สำหรับสนามบิน พลเรือน และ แสดงสี ขาว ขาว และเขียว สลับกัน แสดงว่าเป็น สนามบินทหาร แต่ในยุคปัจจุบัน จะใช้เป็น ไฟกระพริบแทน การหมุน โดยไฟนี้ จะต้องสามารถมองเห็นได้ จากระยะ 1000 feet หรือ สามารถมองเห็น จากพื้นในระยะ ไม่น้อยกว่า 3 ไมล์บก สำหรับสนามบินน้ำ จะใช้ไฟกระพริบ สีขาว และ เหลือง สลับกัน เฮลิครอปเตอร์ จะใช้ สลับกันระหว่าง เขียว เหลือง และ ขาว



Approach lighting system ในบางสนามบิน อาจมีระบบไฟ ที่ซับซ้อนมาก เพื่อช่วยให้นักบิน แบบ instrument สามารถนำเครื่อง ร่อนลงได้ โดย ไฟนี้ สามารถมองเห็นได้ ไกลถึง 3000 feet โดยไฟเหล่านี้ประกอบด้วย ไฟ runway centerline ซึ่งจะช่วยให้นักบิน VFR สามารถนำเครื่อง ขึ้น ลง ได้ ในเวลากลางคืน

Visual Glideslope Indications เป็นไฟที่ช่วย ในการตัดสินใจว่า เรามุมในการร่อนลง ถูกต้องหรือไม่ ไฟนี้ สามารถมองเห็นในเวลากลางวัน ดัวย โดย จะมีการติดตั้งไฟนี้ อยู่ด้านข้างของ ทางวิ่ง ซึ่งจะมีทั้ง ทางวิ่งแบบ basic และ แบบ instrument

Visual Approach slope indicator (VASI) เป็นระบบไฟ ที่แสดงถึง มุมในการร่อนลงของ เครื่องว่า ทำมุมได้ถูกต้องหรือ ไม่ คือ อยู่ในมุมสูง หรือ ต่ำเกิน ไปหรือไม่ รูปแบบของไฟแบบ VASI นี้ จะมีการติดตั้ง ไฟสีขาว และสีแดง สองแถว (มีไฟแถวละ 2 , 4 , 12 ดวง) โดยไฟ แถวแรกเรียกว่า "Near bar" ไฟแถวหลัง เรียกว่า "Far Bar" ไฟทั้งสอง แถวนี้ จะติดตั้งอยู่ ด้าน ข้างของ ทางวิ่ง ทั้งด้านซ้าย และด้านขวา



Precision Approach Path Indicator (PAPI) เป็นระบบไฟหนึ่ง ที่ใช้ช่วยในการ นำเครื่องร่อนลงสนาม PAPI นี้จะประกอบไปด้วยไฟ สอง หรือ สี่ ดวง ติดตั้งเป็นแถวเดียว โดยมีไฟเรียงกัน ปกติแล้ว PAPI จะติดตั้งทางด้านซ้าย ของทางวิ่ง สามารถมองเห็นได้ มากกว่า 5 ไมล์ ในเวลากลางวัน และ 20 ไมล์ ในเวลากลางคืน


Runway edge lights

End Airport
 

 

   
 
 
ติดต่อผู้ทำเวบ