หลังจากที่ได้ ทราบถึงเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่ง ของการบิน
ก็คือเรื่องของความปลอดภัยมาแล้ว รวมถึง ความรู้เกี่ยวกับ
สนามบิน การจัดแบ่ง พื้นที่ บินออกเป็น ส่วนต่างๆ
การติดต่อสื่อสาร กัน ในส่วนนี้ เราจะได้ทราบถึง การใช้งาน
Radar เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย ในกับเครื่องบิน
และจะได้ทราบถึงวิธีปฏิบัติ ในกรณีที่ วิทยุสื่อสารไม่สามารถใช้งานได้
รวมไปถึง วิธีปฏิบัติ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
Radar เครื่องเครื่องมือที่ แสดง
ระยะทาง และ ตำแหน่งของเครื่องบิน โดย เรดาร์จะส่ง
พลังงาน เป็น ห้วงสั้น ออกไป เมื่อพลังงานนี้ไป กระทบกับวัตถุ(เครื่องบิน)
ก็จะสะท้อนพลังงานนี้ กลับมาที่เสาอากาศ ของ เราดาร์
จากนั้น ก็จะเข้ากระบวนการ ภายในเครื่องของ เรดาร์
แล้วแสดงออกมา เป็นจุด บนจอภาพของ เรดาร์ ระบบของเรดาร์มีอยู่
สอง ชนิด คือ Primary radar และ Secondary
Primary
radar จะมีระบบ อยู่ที่พื้นดิน โดยมีเสาอากาศที่
หมุนได้ เพื่อส่งพลังงานวิทยุ ออกไป เป็น ห้วงสั้นๆ
เมื่อพลังวิทยุนี้ ไปกระทบกับ เครื่อง บิน ก็จะส่งสัญญาณนั้นกลับ
มายังเสาอากาศ ของเรดาร์ จากนั้นสัญาณ ที่รับกลับมานี้ก็
จะถูกประมวลผล แล้วจึงแสดงออกมา ทางจอภาพ เรดาร์
แต่เนื่อง จาก ระบบเรดาร์ แบบนี้ จะมีผลกับ เฆมที่หนา
จะบังสัญาณ ทำให้ข้อมูล ที่แสดงบน จอเรดาร์ผิดพลาดได้
ดังนั้น จึงได้เกิด ระบบของเรดาร์ อีกระบบขึ้นมา
Secondary
radar เป็นเรดาร์อีกระบบ หนึ่งซึ่งแยก
ต่างหากจาก เรดาร์แบบแรก ในระบบนี้ จะมีส่วนประกอบ
อยู่สามส่วน ที่เพิ่มเติม จากแบบแรก คือ Decoder
, Interrogator, และ transponder
Decoder
เป็นอุปกรณ์ ถอดรหัส ติดตั้งอยู่กับ จอแสดงผล
ภายในห้อง เรดาร์ โดยมีหน้าที่อยู่สอง ประการคือ
ควบคุม interrogator และ แปลข้อมูล ที่ส่งมาจาก
transponder
Interrogator
เป็นอุปกรณ์ ที่ติดตั้งกับ เสาอากาศของ เรดาร์ ทำหน้าที่ส่ง
สัญาณ และรับ สัญาณที่ส่งมาจาก transponder
Transponder
เป็นอุปกรณ์ ที่ติดตั้งอยู่ บนเครื่องบิน
Transponder
เป็นอุปกรณ์เรดาร์ ส่วนที่ติดตั้งบนเครื่องบิน จะคอยตอบสัญาณ
ที่ส่งมาจากเรดาร์ โดย interrogator โดยอัตโนมัติ
เมื่อได้รับสัญาณ จากเรดาร์ สำหรับเครื่องที่ ติดตั้ง
transponder MODE C จะทำให้เรดาร์ สามารถ อ่านความสูง
ที่เครื่องบินกำลังบิน อยู่ได้ สำหรับ transponder
นั้น ผู้ควบคุม จะเป็นผู้กำหนด ให้เราตั้ง ค่า Squawk
เรียกว่า "Squawk Number" เพื่อใช้ แสดงตนของเครื่องบิน
บนจอเรดาร์ การกำหนด หมายเลขของ squawk นี้จะเป็นตัวเลข
4 หลัก หากเราบินด้วย VFR เราจะกำหนดค่า ของ squawk
เป็น 1200 ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้กำหนดเป็น
7500Hijacked
7600วิทยุสื่อสารเสีย
7700เหตุฉุกเฉิน
ถึงขั้นอัตรายต่อชีวิต
Lost
Communication Procedures ในการบินเข้าสู่พื้นใดก็ตาม
เราต้องทำการติดต่อ สื่อสาร กับ tower แต่ถ้าหากเราไม่สามารถติดต่อ
สื่อสาร ได้เนื่องจากวิทยุ สื่อสารเสีย ให้ทำการ
ตั้งค่า squawk เป็น 7600 เพื่อให้ tower ทราบว่า
วิทยุสื่อสารเสีย tower ก็จะติดต่อกับเราด้วย สัญาณไฟ
โดยมีความหมายดังนี้
Color
and type of Signal อยู่ที่พื้น ในอากาศ
สีเขียว Cleared for takeoff Cleared to land
สีเขียว กระพริบ Cleared to taxi Return for landing
(to be followed by steady green
at proper time)
สีแดง Stop Give way to other aircraft
and continue circling
สีแดง กระพริบ Taxi clear of landing Airport
unsafe
area (runway) in use do not land
สีขาวกระพริบ Return to starting (No assigned
meaning)
point on airport
สีแดง และ Exercise extreme caution Exercise
extreme caution
สีเขียว สลับกัน
Emergency
Procedures เหตุฉุกเฉิน มีอยู่สอง ชนิด
คือ เหตุที่จะก่อให้เกิด อัตราย ถึง ขั้นเสียชีวิต
กับ เหตุที่ต้องการ ความเร่งด่วน เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่น
นี้ ให้ตั้งคลื่น ความถี่วิทยุ ไปที่ 121.500 MHz
แล้วพูดคำว่า "MAYDAY MAYDAY MAYDAY"
ในกรณี ที่จะเกิดอัตรายถึงชีวิต ในกรณีที่ ต้องการความเร่งด่วน
ให้ใช้คำว่า "PAN-PAN PAN-PAN PAN-PAN"
เมื่อกล่าวจบ แล้ว บอกชื่อเรียกขาน ของตน บอกสถานที่อยู่
บอกความตั้งใจที่จะทำ ตั้ง squawk 7700 แล้วทำตามขั้นใน
check list ของเครื่องบิน ในเรื่องของ เหตุการณ์นั้น
ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์เสีย จะต้องลงฉุกเฉิน ตั้งความถี่วิทยุสื่อสารมาที่
121.500 MHz พูดคำว่า "MAYDAY MAYDAY MAYDAY
Cessna 150 HS-AKR 3500 Feet. Heading 270 Over
Bangphakong city intention force landing area
field close electical generator manucatory bangphakong"
ตั้ง squawk 7700 แล้วทำตาม check list ของเครื่องบิน
ที่ว่าด้วยเรื่อง การลงฉุกเฉิน ว่าต้องทำอะไรบ้าง
โดยทำตามขั้น ตอนที่อยู่ ใน check list นั้น
|