ในส่วนที่แล้ว ได้กล่าวถึง การใช้วิทยุสื่อสารเพื่อการติดต่อระหว่าง
นักบินกับ หอบังคับการบิน หรือ การหน่วยให้บริการ
ทางด้านการบิน ดังนั้นในส่วนนี้ เราจะได้ทราบถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร
และขั้นตอนในการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนคำพูดหรือ ตัวเลข
ที่เราจะต้องออกเสียง เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
อุปกรณ์
ที่ใช้ในการสื่อสาร ในย่าน VHF อุปกรณ์ ที่ใช้ทั่วไป
ในการติดต่อสื่อสาร ของ เครื่องบินนั้น จะเป็นวิทยุสื่อสาร
สองทาง ที่อยู่ในย่านความถี่ ที่เรียกว่า Very High
Frequency (VHF) โดยจะใช้ย่านความถี่ อยู่ระหว่าง
118.00 MegaHertz (MHz) ถึง 135.975 MegaHertz (MHz)
การใช้งานความถี่ ที่อยู่ในย่านนี้ จะมีการแบ่งความถี่ออกเป็น
ช่อง ซึ่งจะสามารถแบ่ง ได้ 360 และ 720 ขึ้นอยู่กับ
เครื่องวิทยุสื่อสาร เครื่องนั้นว่าผลิต ออกมาให้
สามารถ กำหนดความห่าง ของ ช่องความถี่ เป็น ขนาดเท่าไหร
โดยการกำหนด ความหว่าง หรือ ช่องว่างระหว่าง ความถี่นี้
สามารถแบ่งออกเป็น 50 KHz (0.05 MHz) ก็จะสามารถ
มีช่อง ความถี่ ได้ 360 ช่อง เช่น 118.05, 118.10,
118.15, 118.20 เป็นต้น แต่ถ้าเครื่องวิทยุสื่อสารเครื่องนั้น
สามารถกำหนด ความห่างของแต่ ละช่อง ได้ละเอียดมากขึ้น
คือ ความห่างของ แต่ละช่องเป็น 25 KHz (0.025MHz)
เราก็จะสามารถ แบ่ง ช่องออกเป็น 720 ช่อง เช่น 118.025,
118.050, 118.075, 118.100 เป็นต้น
ระยะการรับส่ง
วิทยุสื่อสาร เนื่องการสื่อสาร ที่กระทำในย่านความถี่
VHF นี้ มีการทำงานแบบเส้นตรง (line of sight) ดังนั้น
เมื่อคลื่อนวิทยุ วิ่งผ่าน สิ่งกีดขวาง ก็อาจจะทำให้มีสามารถติดต่อสื่อสารกัน
ได้ โดยเฉพาะ ส่วนโค้งของโลก หรือภูเขา ที่อาจจะบัง
ไม่ให้คลื่อนวิทยุผ่านได้ จึงเกิด เป็นข้อจำกัดของการรับส่งขึ้นได้
ความสูงของเครื่องบิน
ระยะที่สื่อสารได้(NM)
500 28
1,000 39
1,500 48
2,000 55
3,000 69
5,000 87
10,000 122
15,000 152
20,000 174
การออกเสียง
ของตัวอักษรและตัวเลข ในการบินไปยังประเทศต่างๆ
ซึ่งในบางประเทศไม่ ได้ใช้ ภาษา อังกฤษ เป็นภาษาหลัก
จึงทำให้เป็นการยาก ที่จะติดต่อสื่อสาร หรือออกเสียงเพื่อ
สื่อสารกันได้ ดังนั้น ICAO (International Civil
Aviation Organization) จึงได้กำหนดให้ การติดต่อสื่อสารทั้งในอากาศ
และภาคพื้น ติดต่อสื่อสารกันด้วย เสียงของตัวอักษรและตัวเลขที่กำหนดไว้
(phonetic alphabet) โดย ICAO สำหรับตัวเลขนั้น
ให้อ่านออกเสียง ด้วยภาษา อังกฤษ ยกเว้นเลข 9 ให้ออกเสียง
ว่า นายเน่อน์ เนื่อง จาก คำว่า นาย ในภาษาเยอรมัน
แปลว่า ไม่ อาจจะทำให้เกิด ความสับสน ได้เมื่อต้องบินไปยังประเทศเยอรมัน
ดังนั้น ICAO จึงกำหนดให้ ออกเสียง เป็น นายเน่อ
แทน
สำหรับภาษาที่ใช้ในการ
ติดต่อสื่อสารทางด้านการบินนั้น สามารถทำได้ โดยใช้ภาษาหลัก
5 ภาษา และ 1 ภาษาท้องถิ่น ดังนี้
1.
ภาษาอังกฤษ
2.ฝรั่งเศษ
3.เยอรมัน
4.รัสเชีย
5.จีน
ภาษาท้องถิ่น
ICAO
Phonetic Alphabet A Alfa เอาฟ่า . -
B Bravo บราโว้ - . . .
C Charlie ชาลี - . - .
D Delta เดลต้า - - .
E Echo แอ็กโค่ .
F Foxtrot ฟอก็ทรอด . . - .
G Golf ก็อฟ - - .
H Hotel โฮเทล . . . .
I India อินเดีย . .
J Juliett จูเลียต . - - -
K Kilo กิโล - . -
L Lima ลิม่า . - . .
M Mike ไมค์ - -
N November โนเวมเบอร์ - .
O Oscar ออสก้า - - -
P Papa ปาป่า . - - .
Q Quebec คิวเบก - - . -
R Romeo โรมีโอ . - .
S Sierra เซียร่า . . .
T Tango แทงโก้ -
U Uniform ยูนิฟรอม . . -
V Victor วิกเตอร์ . . . -
W Whiskey วิสกี้ . - -
X X-ray เอ็กสเร - . . -
Y Yankee แยงกี้ - . - -
Z Zulu ซูลู - - . .
การใช้ตัวเลข ในการสื่อสาร Heading:
078 ................. ซีโร่ เซเว่น เอ็ท
259 ................. ทู ไฟ่ร์ นาย
Altitudes:
8,500 ................. เอ็ท ทาวซั่น ไฟ่ร์ ฮันเดรท
12,500 ................. วัน ทู ทาวซั่น ไฟ่ร์
ฮันเดรท
FL 330 ................. ไฟท์ เลเวล ทรี ทรี ซีโร่
Frequencies
121.5 ................. วัน ทู วัน พอยท์ ไฟ่ร์
หรือ
วัน ทู วัน เดซิมอล ไฟร์ หรือ
วัน ทู วัน ไฟร์
135.9 ................. วัน ทรี ไฟ่ร์ พอยท์ นายเน่อน์
หรือ
วัน ทรี ไฟ่ร์ เดซิมอล นายเน่อน์ หรือ
วัน ทรี ไฟ่ร์ นายเน่อน์
Airways:
V11 ................. วิคเตอร์ อีเลเว่น
J521 ................. จูเลียต ไฟ่ร์ ทเวนตี่ วัน
Altimeter Settings:
29.92 ................. ทู นายเน่อน์ นายเน่อน์
ทู
30.14 ................. ทรี ซีโร่ วัน โฟท์
Coordinated Universal Time เนื่องจาก
ในการบินนั้น เราอาจต้องบินผ่านไปยัง พื้นที่ ต่างๆ
ที่มีเวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นการยาก ที่จะสื่อสารกันในเรื่องของเวลา
ของพื้นที่หนึ่ง กับ เครื่องบิน ที่บิน มาจากอีกพื้นที่หนึ่ง
ซึ่งเป็นย่านเวลา ที่แตกต่างกัน จึงได้มีการกำหนดเวลา
มาตรฐานขึ้นมา เรียกว่า Corrdinated Universal Time
(UTC) หรือเรียกว่า Zulu Time โดยเทียบมาจาก เส้น
longitude เส้นที่ 0 ซึ่งลากผ่าน เมือง Greenwich
ที่ประเทศ อังกฤษ โดยประเทศไทย จะต้อง นำเวลาปัจจุบัน
- 7 ชั่วโมง
การใช้งานวิทยุสื่อสาร
การใช้งานวิทยุสื่อสาร นั้น จะต้องใช้คำสุภาพ ไม่ใช้คำหยาบ
และต้อง ใช้งาน ให้ ถูกต้อง ตามขั้นตอน ตามเวลา
ที่จะต้องใช้ และให้ข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง เพราะการใช้งานวิทยุสื่อสารนั้น
ช่วยให้เรามีความปลอดภัย มากขึ้น เนื่อง จากเราสามารถรับ
ฟังผู้ที่พูด หรือ คนอื่นสามารถได้ยินเราพูด เมื่ออยู่ที่
ความถี่เดียวกันกับเรา ดังนั้น ก่อนที่จะกด ไมล์พูดนั้น
ก็ต้องฟังก่อนว่าไม่มี คนอื่น ใช้ความถี่ อยู่จึงค่อย
กดไมล์ แล้วพูดออกไป ในขณะที่เราพูดอยู่นั้น ก็จะมีคนอื่นๆ
ในความถี่เดียวกัน ฟังอยู่ ก็จะทราบว่า เรากำลังทำอะไร
อยู่ที่ไหน จะทำอะไร เขาก็จะระวัง ไม่เข้าไปยังจุดที่จะทำให้เกิดอัตราย
เพื่อความปลอยภัย
ขั้นตอนการ
ปฏิบัติในการใช้วิทยุสื่อสาร ตามปกติแล้ว
ในการติดต่อสื่อสาร จะต้องมีการเริ่มต้นด้วยขั้นตอนที่เรียกว่า
Initial contact สำหรับ ขั้นตอนนี้จะใช้ในการเริ่มติดต่อครั้งแรก
กับ ATC โดยการติดต่อนั้น จะต้องแจ้งชนิดของ เครื่อง
อยู่ที่ใหน ชื่อเรียกขาน ของเครื่องทุกตัว และต้องหยุดรอให้
ATC ตอบกลับมาเราจึง จะสามารถ สื่อสารต่อได้ เช่น
ในประเทศไทยนั้น ชื่อเรียกขานจะขึ้นต้นด้วย HS-XXX
แล้วตามด้วย ตัวอักษร อีกสามตัว ดังนี้ HS-AKR และเราต้องการติดต่อกับ
ATC ของ สนามบิน สมมุติว่าชื่อ "Bangkok Tower"
เราเริ่มด้วย "Bangkok Tower, Cessna 150,
Parking area, HS-AKR" แล้วรอให้ Bangkok Tower
ตอบกลับเรามา เราจึงจะสามารถ สื่อสารต่อได้ ขั้นตอนนี้เรียกว่า
Initial contact เมื่อ ATC ได้ยินเราเรียกก็ จะมองมายังตำแหน่งที่เราแจ้งไป
ว่า ที่ เครื่องเรา (Cessna 150) นั้น จอดอยู่ มีปัญหา
หรือไม่ เช่น มีรถกำลังวิ่ง ผ่าน หรือ มีคนเดินอยู่
ในบริเวณที่จะเกิดอัตรายหรือไม่
ในกรณีที่
การติดต่อ แล้วได้ยินไม่ชัดเจนเรา สามารถ ให้ทวน
คำพูดได้ด้วยการใช้คำว่า "Say again"
หรือ หากคู่สนทนา พูดเราไป "Speak slower"
ได้ คำว่า "Over" นั้นเราจะใช้ในกรณี
ที่เราจะรอให้ คู่สนทนา ตอบเรา หมายถึง เมื่อเรา
พูดออกไปแล้ว ลงท้ายด้วย "Over" หมายถึง
ให้ตอบมาด้วย รอฟังอยู่ ในบางครั้ง ATC หรือ เราก็ตาม
ไม่สามารถให้คำตอบ หรือ ไม่ว่างที่จะตอบ ในขณะนั้น
และจะเรียกไปเมื่อพร้อม เราจะใช้คำว่า "Stand
by" คำว่า "Negative" หมายถึง การตอบว่า
ไม่ ซึ่งตรงข้ามกับ คำว่า "Roger" เป็นคำตอบรับ,
หรือ รับทราบ, ถูกต้อง คำว่า "Handoff"
เป็นคำที่ ATC ใช้ในการส่งต่อ การติดต่อระหว่างเราให้ผู้อื่น
เช่น เมื่อเรา อยู่ที่พื้น กำลังจะข้ามเส้น Hold
line เข้าไปยัง Runway ซึ่งถือว่า สุดเขต ความดูแลของ
Ground Control และจะต้องเป็นหน้าที่ความดูแล ของ
Tower ที่ตรงนี้ ground จะทำการ handoff เรา เพื่อส่งต่อให้กับ
tower เป็นต้น
ตัวอย่าง
ขั้นตอนในการสื่อสาร
Before
Start
Pilot:Bangkok
Ground, Cessna 150, Parking area, HS-AKR (Good
Morning)
GRD:HS-AKR
(Good Morning) Go Ahead
Pilot:HS-AKR
Parking area 1 Request Start Up
GRD:HS-AKR
Start Up Approve Runway 36, Wind 010, 5 Knots,
QNH 3005
Pilot:Start
Up Approve Runway 36, QNH 3005 HS-AKR
TAXI
Pilot:Bangkok
Ground, HS-AKR Request Taxi
GRD:HS-AKR
Clear Taxi to Holdiing Point Runway 36
Pilot:Clear
Taxi to Holding Point R/W 36 HS-AKR
AT HOLDING POINT R/W 36
Pilot:Bangkok
Ground, HS-AKR Request Change Contact Tower
GRD:HS-AKR
Contact Tower 118.10
Pilot:Contact
Tower 118.10 HS-AKR (Good Day)
Pilot:Bangkok
Tower, HS-AKR Holding Point R/W 36 Request Line
Up
TWR:HS-AKR
Clear Line Up R/W 36 or Clear Takeoff R/W 36
Pilot:Clear
Line Up R/W 36 HS-AKR or Cleaar Takeoff R/W 36
HS-AKR
ON THE RUNWAY
Pilot:Bangkok
TWR, HS-AKR Ready for takeoff
TWR:HS-AKR
Clear Take off R/W 36 Wind 010, 5 Knots After
Air Borne Left Turn Out to Area 1 Maintain ....
Feet.
Pilot:Clear
T/O R/W 36 AFT Lt Out to Area 1 Maintain ....
Feet HS-AKR
WHEN REACHING DESIRE ALTITUDE
Pilot:BKK
TWR, HS-AKR Maintain ..... Feet
TWR:BKK
TWR Roger
WHEN LEAVE FROM TRAINING AREA
Pilot:BKK
TWR, HS-AKR Leaving Area 1 Request Landing Instruction
TWR:HS-AKR
R/W 36 Wind 030, 10 Knots QNH 3010 Report Left
Down Wind R/W 36
Pilot:R/W
36, QNH 3010 Report LF D/W HS-AKR
LANDDING
TWR:HS-AKR
When Vacated Contact GRD 121.90
Pilot:Contact
GRD When Vacated 121.90 HS-AKR
WHEN VACATED THE R/W
Pilot:BKK
GRD HS-AKR R/W Vacated Request Taxi Back
GRD:HS-AKR
Taxi Back Approve
Pilot:Taxi
Back Approve HS-AKR
|